ต้นรวงผึ้ง พันธุ์ไม้ไทยน่าอนุรักษ์ ต้นไม้มงคล ประจำรัชกาลที่ 10

เป็นต้นไม้มงคล ที่หลายคนอาจรู้ว่าเป็นต้นไม้ประจำพระองค์ พระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณมหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เมื่อมีโอกาสในวันหรือพระราชพิธีสำคัญ ทางราชการไปจนถึงประชาชนจะปลูก เพื่อความเป็นสิริมงคล แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่ไม่รู้จักว่า มีลักษณะอย่างไร และเหตุใดจึงเป็นต้นไม้มงคลประจำพระองค์?

วันนี้เราจะมาทำความรู้จัก ซึ่งเป็นต้นไม้มงคลและต้นไม้ประจำรัชกาลที่ 10 กันให้มากขึ้น.

Table of Contents

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน

  1. ทำไมต้องเป็น “ต้นรวงผึ้ง”.
  2. ลักษณะของ .
  3. การขยายพันธุ์.
  4. จุดเด่นที่น่าสนใจ.
  5. คำแนะนำสำหรับผู้ปลูก.

ทำไมต้องเป็น “ต้นรวงผึ้ง”

มีลักษณะเด่นสะดุดตาคือมีดอกสีเหลืองซึ่งตรงกับสีประจำวันพระราชสมภพ นั่นก็คือวันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ.2495 อีกทั้งยังมีช่วงเวลาของการผลิบานตรงกับช่วงวันพระราชสมภพ ซึ่งช่วงผลิดอกก็คือประมาณเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม จะออกดอกสีเหลืองสดบานสะพรั่ง เกิดเป็นทัศนียภาพสวยงามและเจริญตา ด้วยเหตุนี้เองเมื่อเสด็จออกไปประกอบพระราชกรณียกิจตามสถานที่ต่าง ๆ ก็ทรงปลูก พระราชทานไว้ นอกจากนี้ทางหน่วยงานราชการหรือเอกชนก็อาจปลูกเองเพื่อเป็นตัวแทนพระองค์และเพื่อความเป็นสิริมงคล .

ลักษณะของ

ต้นรวงผึ้ง ต้นไม้ประจำรัชกาลที่10

มีชื่อเรียกพื้นเมืองว่า ต้นน้ำผึ้งหรือต้นสายน้ำผึ้ง เป็นไม้กลิ่นหอมที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย พบมากในป่าทางภาคเหนือ เป็นพันธุ์ไม้ที่จัดอยู่ในประเภทเดียวกับปอ กระเจาและตะขบฝรั่ง

ดอกของต้น มีสีเหลืองเข้มและส่งกลิ่นหอมตลอดทั้งวัน ช่อดอกดกและมักเกิดตามซอกใบเป็นช่อสั้น ๆ โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมกันขณะที่กลีบมีปลายแยกเป็น 5 แฉกเหมือนรูปดาว เวลาดอก บานจึงคล้ายช่อดอกไม้สีเหลืองกระจายไปทั่วทั้งต้น มีความสวยงามตระการตาและทำให้รู้สึกสดชื่นยามได้มองพร้อมทั้งมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ  สามารถบานได้นานกว่า 7-10 วัน แต่ละต้นอาจบานไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและสภาพภูมิประเทศ

เป็นไม้ที่สามารถเติบโตในสภาพแล้งได้ดี ชอบพื้นที่ไม่มีน้ำขัง สภาพพื้นที่ที่เหมาะสมจะทำให้ดอกออกเต็มต้นและมีสีเหลืองเข้มสวย แต่หากเป็นต้นรวงผึ้งที่อยู่ในพื้นที่แฉะหรือมีน้ำขังอาจออกดอกประปรายไม่บานทั่วทั้งต้นเหมือนปกติ โดยระยะติดดอกปกติแล้วจะอยู่ในช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคม – เดือนสิงหาคม ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมในภูมิประเทศนั้น ๆ

การขยายพันธุ์.

การตอนเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการขยายพันธุ์ บางรายอาจใช้ฮอร์โมนเร่งรากเพื่อช่วยในการขยายพันธุ์ต้นกล้าของไม้มงคลชนิดนี้

จุดเด่นที่น่าสนใจของ

  1. ออกดอกทั้งต้นและดอกบานได้ดีเมื่อปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสม
  2. ดอกมีกลิ่นหอม สามารถปลูกได้ในหลายภูมิประเทศ ทนแล้งได้ดี
  3. มีความทนทานสูง ไม่ต้องดูแลมากก็เติบโตได้ดี นอกจากนี้ยังใบร่วงน้อยอีกด้วย
  4. มีระบบรากดีเยี่ยม ไม่มีการโค่นล้มของต้นใหญ่ถึงแม้จะเป็นการปลูกจากกิ่งที่ได้จากการตอนก็ตาม

คำแนะนำสำหรับผู้ปลูก

ต้นรวงผึ้ง พันธุ์ไม้ไทยน่าอนุรักษ์ ต้นไม้มงคล ประจำรัชกาลที่ 10 1

การปลูก ต้องอาศัยความอดทนหากต้องการชมความงามของดอก เพราะเป็นพันธุ์ไม้ใหญ่ ต้องอาศัยเวลานานหลายปีจึงเติบโตจนกระทั่งถึงช่วงที่เหมาะสมที่สุดในการออกดอก ในหนึ่งปีดอกบานเพียงครั้งเดียวและจะบานเพียง 7-10 วันเท่านั้น ระยะเวลาการชมจึงไม่ถือว่าน้อยมาก อาจไม่ถูกใจบางคนที่ชื่นชอบการปลูกไม้ที่ออกดอกเร็ว โตเร็ว

นอกจากนี้หากต้องการให้ดอกรวงผึ้งบานทั้งต้นยังต้องปลูกในสภาพพื้นที่ที่เหมาะสม นั่นก็คือดินแห้ง ไม่แฉะ ไม่มีน้ำขัง ชอบพื้นที่แล้ง ไม่จำเป็นต้องมีน้ำมากก็อยู่ได้ เจริญเติบโตได้ดี อีกทั้งยังส่งผลต่อการออกดอก พื้นที่ที่เหมาะสมจะทำให้ดอกรวงผึ้งบานเยอะ แน่นเต็มต้น ไม่บานแบบประปราย นอกจากนี้ ยังต้องใช้พื้นที่ในการปลูกมากอีกด้วย หลายคนจึงกล่าวว่าเหมาะสำหรับการปลูกเพื่ออนุรักษ์พันธุ์ในระยะยาวมากกว่าการปลูกระยะสั้น ๆ

นอกจากนี้ในช่วงที่ออกดอกสะพรั่ง เหลืองสดสวยเต็มต้นอีกทั้งยังมีกลิ่นหอม ย่อมเป็นช่วงที่ดึงดูดผึ้งให้มาผสมเกสรมากที่สุด ทำให้เราพบผึ้งจำนวนมากในช่วงเวลาออกดอกของ นี่เป็นหนึ่งในสาเหตุที่หลายคนไม่นิยมปลูกในบ้าน เพราะเมื่อถึงช่วงเวลาเหล่านี้อาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อสมาชิกในครัวเรือนได้

แต่หากปลูกในสถานที่กว้าง มีพื้นที่เหมาะสม หรือการปลูกในพื้นที่สาธารณะ เมื่อถึงช่วงออกดอกและมีผึ้งมาดูดน้ำหวานจากดอก ก็จะเกิดภาพความงามของธรรมชาติที่หาชมที่ไหนไม่ได้ เป็นสุนทรียะอีกแบบที่ทำให้คนมองรู้สึกเพลิดเพลินตามไปด้วย

สรุป

ราคาต้นสูงจะประมาณนึง ซึ่งเป็นต้นไม้มงคลและเป็นพันธุ์ไม้ประจำรัชกาลที่ 10 นั้น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวสูง อีกทั้งยังเป็นพันธุ์ไม้ใหญ่ที่ดอกมีกลิ่นหอมซึ่งหายากในประเทศไทย ในโอกาสวันสำคัญต่าง ๆ เราจึงนิยมปลูก ทั้งตามสถานที่ราชกาลและในชุมชนเพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ 10 และเพื่อการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ไทย ไปจนถึงการเสริมสร้างความเป็นสิริมงคลให้กับหน่วยงาน สถานที่ และผู้ที่ปลูกนั่นเอง .